• หลวงปู่ชัยยะ วงศาพัฒนา
    1. หลวงปู่ชัยยะ วงศาพัฒนา

เดิม วงศ์ หรือ ชัยวงศ์ นามสกุล ต๊ะแหนม เกิดที่ ตำบลหันก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เกิดเมื่อ วันอังคาร เดือน ๗ (เหนือ) แรม ๒ ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๔๕๖ เวลา ๒๔.๑๕ นาฬิกา โยมบิดาชื่อ น้อย จันต๊ะ (ถึงแก่กรรม เมื่ออายุ ๔๔ ปี) โยมมารดาชื่อ บัวแก้ว (ถึงแก่กรรม เมื่ออายุ ๗๘ ปี) จำนวนพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๘ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๓ มีน้องต่างบิดาอีก ๑ คน รวมเป็น ๙ คน ดังนี้

ชีวิตในวัยเด็ก

หลวงปู่เกิดในตระกูลชาวไร่ชาวนาที่ยากจน พ่อแม่ของท่านมีสมบัติติดตัวมาแค่นา ๓-๔ ไร่ ควาย ๒-๓ ตัว ทำนาได้ข้าวปีละ ๒๐-๓๐ หาบ ไม่พอกินเพราะต้องแบ่งไว้ทำพันธุ์ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งเอาไว้ใส่บาตรทำบุญบูชาพระ ส่วนที่เหลือจึงจะเก็บไว้กินเอง ต้องอาศัยขุยไผ่ขุยหลวกมาตำเอาเม็ดมาหุงแทนข้าวและอาศัยของในป่า รวมทั้งมันและกลอยเพื่อประทั้งชีวิต บางครั้งต้องอดมื้อกินมื้อก็มี แม่ต้องไปขอญาติพี่น้องๆ เขาก็ไม่มีจะกินเหมือนกัน แม่ต้องกลับมามือเปล่าพร้อมน้ำตาบนใบหน้า มาถึงเรือน ลูกๆ ก็ร้องไห้เพราะหิวข้าว แม้ว่าครอบครัวของท่านต้องดิ้นรนต่อสู้กับความอดทนอยาก แต่ก็ไม่ได้ละทิ้งเรื่องการทำบุญให้ทาน ข้าวที่แบ่งไว้ทำบุญ แม่จะแบ่งให้ลูกทุกคนๆ ละปั้นไปใส่บาตร บูชาพระพุทธทุกวันพระชีวิตของ  หลวงปู่ในสมัยเด็กมีความลำบากยากแค้นมาตลอด    หลวงปู่มีนิสัยชอบพึ่งตนเองสิ่งใดที่ทำได้โดยไม่เกินกำลังแล้วจะทำเองทุกอย่าง  ท่านเป็นนักพัฒนา  นักก่อสร้าง  และสนใจในพระพุทธศาสนามาตั้งแต่เล็กๆ  ท่านเล่าให้ฟังว่า  เมื่ออายุประมาณ    ปี  ท่านชอบเอาดินมาปั้นแต่งเป็นบ้าน  ปั้นวัว  ปั้นควาย  อายุ  ๔-๕  ปี  ชอบปั้นพระพุทธรูป  เอาข้าวเปลือกมาตบแต่งทำพระเนตรแล้วก็กราบไหว้เอง  อายุ  ๕-๖  ปี  พอที่จะช่วยโยมพ่อโยมแม่ทำงานได้  ในขณะนั้นโยมพ่อโยมแม่ไปทำนาซึ่งอยู่ห่างไกลจากบ้าน  ระหว่างที่ข้าวออกรวง  หลวงปู่ต้องไปไล่นกไม่ให้มากินข้าวที่ทำไว้ เวลาไปต้องไปแต่เช้า  กว่าจะกลับก็มืดค่ำ  ข้าวบางวันก็ได้กินบางวันก็ไม่ได้กิน  เที่ยวเสาะหาอาหารตามป่าเขากินพอประทังชีวิตไปวันหนึ่งๆ  อายุ  ๗-๑๒  ปี  ท่านได้ไปหาบดินซึ่งเป็นขี้ค้างคาวในถ้ำกับโยมพ่อ  นำมาทำเป็นดินปืนสำหรับทำบ้องไฟ  (ทางเหนือเรียกดินไฟ)  วิธีทำโดยการนำดินเหล่านี้ผสมกับขี้เถ้าแล้วเคี่ยวให้เข้ากัน เงินที่ได้เอามาซื้อแลกข้าวซึ่งในขณะนั้นราคาประมาณถังละ  ๘๐  สตางค์  นับว่ามีราคาแพงมาก สมัยนั้น  ๗ -๘  วัน  ได้กินข้าวเท่ากำมือหนึ่งก็ดีมากแล้วมีอยู่ครั้งหนึ่งโยมพ่อพาลูกๆ  ออกไปทำไร่  โยมแม่ได้นำอาหารกลางวันมาส่งให้ซึ่งประกอบด้วยขนุนที่ยังดิบอยู่นำมาต้มให้สุก  พริกตำห่อด้วยใบตองห่อใหญ่และข้าวห่อเล็กๆ  ห่อหนึ่ง  โยมพ่อเรียกลูกๆ ทุกคนมานั่งรวมกันแล้วแบ่งปันอาหารให้กิน  หลังจากกินอาหารเรียบร้อยแล้วโยมพ่อจึงอบรมสั่งสอนลูกๆ ว่า"ตอนนี้พ่อแม่อด ลูกทุกคนก็อด แต่ลูกๆ ทุกคนอย่าท้อแท้ใจ ค่อยทำบุญ ไปเรื่อยๆ บุญมี ภายหน้าก็จะสบาย"แล้วท่านชี้มือมาที่ หลวงปู่  และกล่าวว่า"ลูกเอ๋ยเราทุกข์ขนาดนี้เชียวหนอ ข้าวจะกินก็ไม่มี ต้องกินไปอย่างนี้ ค่อยอดค่อยกลั้นไปบุญมีก็ไม่ถึงกับอดตายหรอก ทรมานมานานแล้วถึงวันนี้ก็ยังไม่ตาย มันจะตายก็ตายไม่ตายก็แล้วไป ให้ลูกอดทนไปนะ ภายหน้าถ้าพ่อยังไม่ตายเสียก่อนก็ดีตายไปแล้วก็ดี บางทีลูกจะได้ 'นั่งขดถวาย หงายองค์ตีน (บวช)กินข้าวดีๆ อร่อยๆ พ่อนี่จะอยู่ทันเห็นหรือไม่ทันก็ยังไม่รู้"

บรรพชาเป็นสามเณร

หลังจากเมื่อ  หลวงปู่อายุได้  ๑๒  ปี  ด้วยผลบุญที่ท่านได้บำเพ็ญมาตั้งแต่ปางก่อนในอดีตชาติ และได้รับการอบรมสั่งสอนจากพระสงฆ์ครูบาอาจารย์ในชาตินี้ จึงดลบันดาลให้ท่านมีความ เบื่อหน่ายต่อชีวิตทางโลก อันเป็นทุกขัง อนิจจัง อนัตตา แห่งนี้ ท่านจึงได้รบเร้าขอให้พ่อแม่พาท่านไปบวช เพื่อท่านจะได้บำเพ็ญธรรมะขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อบิดามารดาได้ฟัง ก็เกิดความปิติยินดีเป็นยิ่งนัก โยมพ่อจึงนำท่านไปฝากไว้ที่วัดกับหลวงอา และในปีนี้เองโยมพ่อก็เสียชีวิตลง  หลังจาก  หลวงปู่มาอยู่วัดได้เพียง ๑  เดือน  โยมพ่อของท่านจึงไม่มีโอกาสเห็นท่าน "นั่งขดถวายหงายองค์ตีนกินข้าว" จริงตามที่เคยพูดไว้   หลวงปู่ศึกษาเล่าเรียนอยู่    เดือน  เมื่อท่านอายุย่าง ๑๓ ปี (พ.ศ. ๒๔๖๘) จึงได้บวชเป็นสามเณรกับครูบาชัยลังก๋า  (ซึ่งเป็นพระธุดงค์กรรมฐานรุ่นพี่ของครูบาศรีชัย) ครูบาชัยลังก๋าได้ตั้งชื่อให้ท่านใหม่หลังจากเป็นสามเณรแล้วว่า "สามเณรชัย ลังก๋า" เช่นเดียวกับชื่อของครูบาชัยลังก๋า มีความเคารพเชื่อฟัง ท่านเป็นผู้ที่มีความขยันหมั่นเพียรและเคารพเชื่อฟังครูบาอาจารย์ตลอดจนผู้สูงอายุ จึงทำให้ครูบาอาจารย์และผู้เฒ่าผู้แก่รักใคร่เอ็นดูมาก จนเป็นเหตุทำให้เพื่อนเณรบางคนพากันอิจฉาริษยา หาว่าท่านประจบครูบาอาจารย์ และถูกกลั่นแกล้งรังแกอยู่เสมอ  ระหว่างศึกษาเล่าเรียนภาษาล้านนา ท่านมักจะโดนครูที่สอนตีเป็นประจำ  อ่านหนังสือแทบทุกตัวอักขระไม่ว่าเล็กๆ น้อยๆ   เช่นอ่านไม่ออกก็โดนทุบโดนตีเหมือนอย่างวัว อย่างควาย  บางครั้งโดนตีด้วยแซ่จนเป็นรอยเต็มไปหมด  ไม่ว่าจะที่ต่ำที่สูง  บางทีก็โดนสันขวานทุบตีที่หัว  เช่น  อ่านหนังสือว่า  กะ  ขะ  ก๊ะ  เมื่ออ่านผิดก็โดนตี    ครั้งท่านเล่าให้ฟังว่า ตาสองข้างลายพร่าไปหมด  มีอาการเหมือนคนมึนงง  ต้องถูกตีถอนพิษอีก ๑  ครั้งจึงจะหาย ถ้าสังเกตให้ดีแล้ว ศีรษะของ  หลวงปู่จะไม่สวยเนื่องจากมีร่องรอยการถูกตีนี่เอง   หลวงปู่คิดอยู่ในใจเสมอว่าครูพวกนี้ขาดความเมตตา  ถ้าท่านได้มีโอกาสเป็นครูเขาแล้วจะค่อยๆ สอน จะไม่ทุบไม่ตีใครเมื่อใดที่ท่านอยู่ห่างจากครูบาอาจารย์เป็นต้องถูกรังแกเสมอ ทำให้การอยู่ปรนนิบัติติดตามครูบาอาจารย์เป็นไปอย่างไม่มีความสุข เมื่อยามหลับนอนบางครั้งก็โดนเอาทรายมากรอกปากบ้าง เอาไฟเผามือเผาเท้าบ้าง (ไฟเย็น) ไปฟ้องก็ไม่ได้ ถูกรุมตี ไปทางครูครูตี  มาหาเพื่อนเพื่อนตี  เวลาฉันเข้าก็ฉันไม่ได้มากเพราะถูกรังแก  ระหว่างฉันอยู่ถูกพระเณรองค์โน้นบ้างองค์นี้บ้างหยิบเอาข้าวเอากับในสำรับไปกิน  ท่านถูกกลั่นแกล้งทุกอย่างแต่ก็ด้วยขันติบารมีอย่างยิ่งของท่าน  จึงสามารถฟันฝ่าอุปสรรคได้ตลอดมา  ครั้งหนึ่งในขณะที่ท่านกำลังฉันข้าวอยู่  พวกที่เป็นศัตรูกับท่านได้นำเอากระโถนของครูบาก๋า ซึ่งท่านถ่มน้ำมูกน้ำลายเอาไว้มาวางรวมในสำรับกับข้าวที่ท่านฉัน  แล้วหัวเราะด้วยความภูมิใจ    หลวงปู่ท่านฉันโดยไม่รู้สึกรังเกียจและคิดจะให้พวกเหล่านี้เห็นถึงความจงรักภักดีที่ท่านมีต่อครูบาอาจารย์  ท่านได้นำอาหารบ้างข้าวบ้างจิ้มลงไปในกระโถน  แล้วหยิบขึ้นมาฉันอย่างปกติ  ผู้ที่แกล้งท่านต่างอาเจียนไปตามๆ กันด้วยความรังเกียจ  และโดยปกติแล้ว  หลวงปู่มักจะดื่มน้ำล้างกระโถนของครูบาก๋าเป็นประจำ  โดยการเทน้ำมูกน้ำลายทิ้งเสียก่อนครั้งหนึ่ง  จากนั้นเอาน้ำเปล่าเทผสมลงไปกับน้ำมูกน้ำลายที่ยังติดคราบกระโถนอยู่  ก่อนดื่มท่านอธิษฐานจิตขอให้เป็นผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาดยิ่งๆ  ขึ้นไปด้วยความเคารพกตัญญูต่อครูบาอาจารย์ และต้องการที่จะปฏิบัติธรรมกรรมฐานเพื่อมรรคผลพระนิพพาน ท่านจึงได้ใช้ขันติและให้อภัยแก่พระเณรเหล่านั้น ที่ไม่รู้สัจธรรมในเรื่องกฎแห่งกรรม ที่องค์สมเด็จพระชินสีห์ได้กล่าวไว้ว่า "ทำความดี ได้ดี ทำความชั่ว ผลแห่งความชั่ว ย่อมตอบสนองผู้นั้น"โยมพ่อได้อบรมสั่งสอนลูกๆ  ได้สักพักหนึ่งต่างก็แยกทางกันไปทำงาน

อุปสมบทเป็นพระภิกษุ

เมื่ออายุ ๒๐ ปี ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมีครูบาพรหมจักร วัดพระบาทตากผ้าเป็นอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า "ชัยยะวงศา" และออกเดินธุดงค์ไปบำเพ็ญสมณธรรมกับท่านเป็นเวลา    ปี  ในบางโอกาสท่านก็จะเดินธุดงค์ปฏิบัติธรรมไปในที่ต่างๆ ทั้งลาวและพม่า ท่านได้อยู่กับครูบาพรหมจักรระยะหนึ่งแล้ว จึงได้กราบลาครูบาพรหมจักรออกจาริกธุดงค์ไปแสวงหาสัจจธรรม ความหลุดพ้นจากวัฏสงสารแห่งนี้เพียงลำพังองค์เดียวต่อ เพื่อเผยแพร่สั่งสอนธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้กับพวกชาวเขาในที่ต่างๆหลวงพ่อท่านมีความเคารพในครูบาพรหมจักรเป็นอย่างมาก  ท่านกล่าวเสมอว่าครูบาพรหมจักรเป็นผู้ที่มีความบริสุทธิ์ด้วยกาย  วาจา  ใจ  อันจะหาผู้เสมอเหมือนได้ยากนัก

บูรณะวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม

เมื่อหลวงปู่ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม  ท่านได้บุกเบิกปฏิสังขรณ์และก่อสร้างถาวรวัตถุหลายอย่าง  เช่น  วิหารครอบรอยพระพุทธบาท  พระเจดีย์สำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ  และพระพุทธรูปจำนวน  ๘๔,๐๐๐  องค์  ภายในทำเป็นชั้นสูง  ๑๖  ชั้น  พระบาทกบ  โดยเฉพาะวิหารครอบรอยพระพุทธบาท  ท่านก่อสร้างมาเป็นเวลา  ๓๔ ปี ทั้งนี้เนื่องจากท่านมีภารกิจในการก่อสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัดอื่นๆ  ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงอีกด้วย  ไม่ได้ทำเฉพาะวัดของท่านเท่านั้น  ระหว่างปี  พ.ศ. ๒๕๒๖-๒๕๒๙  ท่านได้สร้างประธานถวายวัดต่าง ๆ ที่ขอมา  เมื่อท่านพิจารณาเห็นสมควรจะให้ประมาณ  ๒๐  องค์  ขนาดองค์หน้าตักตั้งแต่  ๘๙  นิ้ว  ถึง  ๓๐  นิ้ว  เมื่อประมาณปี  พ.ศ.๒๕๑๔  พวกกะเหรี่ยงได้อพยพจากป่าเขามาพึ่งใบบุญอยู่กับหลวงปู่เป็นจำนวนมาก  ก่อนที่พวกเหล่านี้จะมาอยู่หมู่บ้านห้วยต้ม  หลวงปู่เคยไปโปรดเมตตาสงเคราะห์เป็นครั้งคราว  สาเหตุที่โยกย้ายกันมาเนื่องจากการไปมาติดต่อลำบาก  จะทำบุญกับหลวงปู่ต่อสักครั้งหนึ่งก็สิ้นเปลืองเงินทองและเสียเวลามาก  บางพวกทางราชการได้มาสร้างเขื่อนภูมิพล  ที่จังหวัดตากขึ้นทำให้มีที่ทำกิน  การอพยพมาอยู่ในระยะแรกมีความลำบากมากเพราะพื้นที่บางส่วนเป็นหินศิลาแลงและแห้งแล้ง  อีกประการหนึ่งกะเหรี่ยงเหล่านี้ส่วนใหญ่เคยสูบฝิ่นกินเนื้อสัตว์มาก่อน  ผู้ที่จะมาอยู่หลวงปู่ท่านให้ตั้งสัตย์ว่าต้องเลิกสูบฝิ่นและเลิกกินเนื้อสัตว์ทุกคน  เพราะสถานที่แห่งนี่ตามตำนานในอดีต พระพุทธเจ้าเคยเสร็จมาโปรด  พระพุทธองค์ไม่ทรงเสวยเนื้อสัตว์  และทรงโปรดประทับรอยพระพุทธบาทไว้ด้วย  จึงถือเป็นประเพณีตั้งแต่นั้นสืบมา  ผู้ที่ไม่เชื่อฟังมักอยู่อย่างไม่มีความสุข มีเรื่องทุกข์ร้อนใจและเจ็บป่วยอยู่เสมอ  กะเหรี่ยงบางคนไม่สามารถทนได้อยู่ได้ต้องอพยพกลับไปอยู่ถิ่นเดิม  พวกที่ทนอยู่ได้ก็ตั้งหน้าทำความดี  ทำบุญให้ทานรักษาศีล   หลวงปู่ท่านเมตตาสั่งสอนให้ลูกศิษย์ทุกๆ คน  ยึดมั่นอยู่ในความดีมีความรักใคร่สามัคคีซึ่งกันและกัน  ยึดมั่นในอมตนิพพานเป็นแดนสุดท้าย  และเมื่อท่านได้อ่านประวัติและปฏิปทาบางอย่างของหลวงพ่อแล้ว  สิ่งใดดีก็นำไปปฏิบัติเพื่อเป็นคุณประโยชน์สำหรับตนเถิด  ขอยกคำสุภาษิตโบราณ  ซึ่งหลวงปู่ท่านเมตตาสั่งสอนให้ถือเป็นคติเตือนใจเสมอว่า“คุณอันใดดีให้หมั่นสร้าง  อย่าได้อ้างแดนภายหลัง ความทุกข์เที่ยงมาทันไม่ร้าง ใครช่างสร้างจักเป็นบุญแล”

สรุปอาการป่วยและการมรณภาพของหลวงปู่พระครูบาชัยยะวงศาพัฒนา

 

วันที่ ๑๑ พ.ค. ๒๕๔๓ หลวงปู่พระครูบาชัยยะวงศาพัฒนา ได้เดินทางไปรักษาองค์ท่านที่ โรงพยาบาลลานนา จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่หลวงปู่ได้เข้าทำการรักษาองค์ท่านเป็นประจำ เนื่องจากมีอาการ อ่อนเพลียและมีอาการหลงๆ ลืมๆ ขณะแพทย์ได้ทำการเติมโปรตีนและเปลี่ยนยาให้ท่าน เพราะมียาบางตัวมีผลทางด้านระบบประสาท องค์หลวงปู่มีอาการดีขึ้นเป็นลำดับ และกำหนดจะกลับวัดในวันจันทร์ที่ ๑๕ พ.ค. ๒๕๔๓  ในคืนวันอาทิตย์ที่ ๑๔ พ.ค. ๒๕๔๓ เวลาประมาณ ๕ ทุ่มเศษ หลวงปู่ได้มีอาการท้องผูกและ ถ่ายไม่ออก ได้มีการสวนทวารเพื่อให้ท่านถ่ายเพราะหลวงปู่ปวดท้องมาก ช่วงนี้ จนถึงเวลา ๐๖.๐๐ น. เศษ ของวันจันทร์ที่ ๑๕ พ.ค. ๒๕๔๓ หลวงปู่ได้ถ่ายประมาณ ๔ ครั้ง และมีอาการอ่อนเพลีย หายใจไม่ออก หลวงปู่ปรารภว่า เจ็บที่ลิ้นปี่ เจ็บอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน วันนี้หลวงปู่ฉันไม่ได้ เวลา ๐๗.๐๐ น. เศษ แพทย์ได้ตรวจดูอาการ หลวงปู่และได้ทราบว่าหลวงปู่มีอาการโรคหัวใจกำเริบ แพทย์จึงกราบนิมนต์หลวงปู่เข้ารักษาที่ห้อง ICU  หลวงปู่ได้อยู่รักษาที่ห้อง ICU โดยอยู่ในความดูแลของแพทย์ อาการ ของหลวงปู่เริ่มดีขึ้น เล็กน้อย ช่วงบ่ายความดันเริ่มต่ำลง ไตเริ่มไม่ทำงานทำให้ปัสสาวะไม่ออก แพทย์ได้เชิญแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านหัวใจและไตมาช่วยรักษาอาการหลวงปู่ ช่วงเย็นคณะแพทย์ได้พิจารณาสวนปัสสาวะให้หลวงปู่ แต่ปัสสาวะก็ไม่ออก คณะแพทย์จึงตัดสินใจเจาะช่องท้องเพื่อเอาปัสสาวะหลวงปู่ออก เมื่อปัสสาวะหลวงปู่ออกแล้ว ความดันหลวงปู่เริ่มดีขึ้นคุยได้ พูดได้ คณะแพทย์ต้องการให้ ท่านพักผ่อน จึงห้ามเยี่ยมหลวงปู่ ช่วงกลางคืนจนถึงเช้าของวันอังคารที่ ๑๖ พ.ค. ๒๕๔๓ หลวงปู่ ให้พระที่ดูแลท่านแปรงฟันให้ท่าน ท่านยังคุยพูดได้บ้าง แต่ยังมีอาการเหนื่อย เช้าวันนี้หลวงปู่ฉันน้ำข้าวได้ ๔-๕ ช้อน เมื่อฉันเสร็จท่านก็พัก ดูอาการหลวงปู่ดีขึ้น ช่วงเช้ามีหลวงพ่อพระครูบาพรรณ วัดนาเลี่ยงและท่านพระคำจันทร์ วัดพระบาทห้วยต้ม ไปกราบเยี่ยมอาการหลวงปู่ หลวงปู่ท่านก็คุยได้ ยังให้ศีลให้พรหลวงพ่อพระครูบาพรรณได้อย่างชัดเจนหลังจากนั้นเวลาบ่ายโมง หลวงปู่เริ่มมีอาการกระวนกระวาย และหายใจไม่ออก ความดันต่ำลงเรื่อยๆ คณะแพทย์ได้ปรึกษากันและลงความเห็นว่า ให้ย้ายหลวงปู่เข้าไปรักษาที่โรงพยาบาลมหาราช (สวนดอก) เพราะที่โรงพยาบาลลานนา ไม่มีเครื่องมือที่จะรักษาอาการของหลวงปู่ได้เมื่อไปถึง โรงพยาบาลมหาราช ทางคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจและไต ได้ทำการรักษาหลวงปู่ และได้พบว่าหลวงปู่มีเลือดไปอุดตันที่เส้นเลือดหัวใจข้างขวา ยาวประมาณ ๔-๕ นิ้ว ไตไม่ทำงาน ปอดอักเสบและมีไข้ คณะแพทย์จึงได้ทำการรักษาหลวงปู่ด้วยวิธีสุดท้าย คือ ใช้บอลลูนไปช่วยทำให้เลือดที่อุดตันเส้นเลือดใหญ่กระจายเวลาประมาณ ๑๗.๐๐ น. เศษ หลวงปู่ออกมาจากห้องทำบอลลูน ดูท่านดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ยกแขนและคุยได้ดี คณะแพทย์ได้พาหลวงปู่มาอยู่ที่ห้อง CCU ตึกศรีพัฒน์ ชั้น ๘ โรงพยาบาลมหาราช เวลาประมาณทุ่มเศษ หลวงปู่เริ่มมีอาการหายใจไม่ออก แน่นหน้าอก คณะแพทย์ได้จึงได้ช่วยกัน รักษาหลวงปู่อย่างสุดความสามารถ แต่อาการก็ไม่ดีขึ้น ไตไม่ทำงาน ความดันต่ำลงเรื่อยๆ เพราะ เลือดที่อุดตันกระจายทำให้หลวงปู่ดีขึ้น แต่ไม่สามารถผ่านเส้นเลือดเล็กๆ ที่ไปเลี้ยงร่างกายได้เพราะเลือดแข็งตัวเป็นลิ่ม จึงอุดตันที่เส้นเลือดเล็ก ทำให้หลวงปู่ทรุดลงอีก หายใจไม่ออกแน่นหน้าอก จนท่านหมดสติ คณะแพทย์ได้พยายามให้ยาละลายเลือดที่อุดตัน แต่ก็ไม่ได้ผล ความดันเริ่มต่ำลงอีก  คณะแพทย์ช่วยหลวงปู่จนถึงเวลา ประมาณตีหนึ่ง ของวันที่ ๑๗ พ.ค. ๔๓ คณะแพทย์ได้แจ้งว่าไตของหลวงปู่ไม่ทำงานแล้ว สมองไม่สั่งงาน เวลา ๐๑.๑๐ น. คณะแพทย์แจ้งว่าหัวใจของหลวงปู่ได้หยุดเต้น ไม่มีระบบการตอบรับของร่างกายหลวงปู่แล้ว แต่ยังใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจอยู่ ถึงอย่างไรหลวงปู่ก็ไม่สามารถกลับมาหายใจได้อีก เพราะเส้นเลือดหัวใจอุดตัน ไตวาย สมองไม่ทำงาน ปอดอักเสบ ช่วงนั้นหลวงพ่อพระครูบาพรรณอยู่ในห้อง CCU พอดี ท่านจึงยังไม่ให้แพทย์เอา เครื่องกระตุ้นหัวใจออกจนถึงเวลา ๐๗.๓๐ น. คณะศิษย์ นำโดยหลวงพ่อพระครูบาพรรณ วัดนาเลี่ยง อ.ลี้ จ.ลำพูน ได้ทำพิธีขอขมาพระศพหลวงปู่ และให้คณะแพทย์ถอดเครื่องกระตุ้นหัวใจหลวงปู่ออก หลวงปู่ จึงนอนพักอย่างสงบตั้งแต่นั้นมา

    1. หลวงปู่กับครูบาเจ้าพรหมจักโก
      หลวงปู่กับครูบาเจ้าพรหมจักโก
    2. รูบาศรีวิชัย ถ่ายรูปเป็นที่ระลึกร่วมกับศิษยานุศิษย์มี ครูบาขาวปี, ครูบาชัยวงศา เป็นต้น
ที่ร่วมกันก่อสร้างทางขึ้นพระธาตุดอยสุเทพจนเป็นผลสำเร็จ
      รูบาศรีวิชัย ถ่ายรูปเป็นที่ระลึกร่วมกับศิษยานุศิษย์มี ครูบาขาวปี, ครูบาชัยวงศา เป็นต้น ที่ร่วมกันก่อสร้างทางขึ้นพระธาตุดอยสุเทพจนเป็นผลสำเร็จ
ยืนยันคำสั่ง?
คุณต้องการดำเนินการต่อไปหรือไม่?
Message