• ประวัติหลวงพ่อต๋า ปัญญาวุฒโฑ
    1. ประวัติหลวงพ่อต๋า ปัญญาวุฒโฑ

ประวัติหลวงพ่อต๋า ปัญญาวุฒโฑ

พรรษา 55 พรรษา อายุ 77 ปี

  หลวงพ่อต๋า ปัญญาวุฒโฑ พรรษา 55 พรรษา โดยเป็นสามเณร 7 พรรษา พระภิกษุสงฆ์ 48 พรรษา นับถึงปัจจุบันมีอายุได้ 77 ปี 2 เดือน 7 วัน หลวงพ่อต๋า ปัญญาวุฒโฑ เป็นบุตรนาย หนิ้ว อินตัน และนางมอย อินตัน เกิดวันที่ 1 เดือนมกราคม พ.ศ.2464 ปีระกา ณ ที่บ้านเหล่า หมู่ที่ 10 ตำบลทุ่งต้อม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

   เมื่อเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แล้ว หลวงพ่อต๋า พระอธิการชุ่ม เจ้าอาวาสวัดชัยมงคล(วังมุย) ตำบลประตูป่า อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ซึ่งมีศักดิ์เป็นลุงของหลวงพ่อต๋า ปัญญาวุฒโฑ เข้าถวายตัวเป็นศิษย์และเด็กรับใช้ในเวลานั้น จนการพัฒนาการการสร้างถนนขึ้นสู่วัดพระธาตุดอยสุเทพสำเร็จเรียบร้อยดีแล้ว ท่านครูบาศรีวิชัยก็ได้ไปพัฒนาตามวัดต่าง ๆ ต่อไปในจังหวัดลำพูนอีกหลายแห่ง เท่าที่หลวงพ่อต๋าจำได้และมีส่วนร่วมในการพัฒนาวัดต่าง ๆ มีดังนี้

1. การสร้างวิหารจามเทวี อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

2. สร้างสะพานศรีวิชัยข้ามลำน้ำแม่ปิงเชื่อมติดต่อระหว่างจังหวัดลำพูนและจังหวัดเชียงใหม่

3. สร้างวัดเวียนด้ง

4. สร้างวิหารวัดพระบาทยั้งหวีด อำเภอสันปาตอง ฯลฯ

 ต่อมาเมื่ออายุได้ 21 ปี ก็ได้ทำพิธีอุปสมบทเมื่อวันที่ 5 เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2485 ที่วัดควรนิมิตรตามเดิม โดยมีพระครูเตชา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระดี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ในระหว่างที่เป็นพระภิกษุต๋า สอบนักธรรมชั้นโทได้ในเวลา 3 ปี รวมเป็นเวลา 6 ปี และในระหว่างนั้นท่านก็ได้ศึกษาวิชาการต่าง ๆ เช่น งานไม้ งานปูน ไปในตัว โดยได้ค้นคว้าด้วยตนเองบ้าง ถามท่านผู้รู้บ้างจนสามารถสร้างช่อฟ้าวิหาร และใบระกาของวิหารได้ด้วยตนเอง ท่านได้ฝากฝีมือให้เห็นเป็นที่ประจักษ์เด่นชัดหลายต่อหลายวัดมาแล้ว ทั้งในจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดเชียงรายและจังหวัดลำพูน นับว่าท่านได้ใช้ความวิริยะอุตสาหะด้วยตัวท่านเองจริงๆ ฝีมือของหลวงพ่อต๋า

ประวัติการสร้างวัตถุมงคลหลวงพ่อต๋า ปัญญาวุฒโฑ 

          ปัญญาวุฒโฑ นอกจากจะเป็นพระนักพัฒนาแล้ว ท่านยังเป็นพระที่เชี่ยวชาญเรื่องการทำยาสมุนไพรรักษาโรคต่าง ๆ และยังเชี่ยวชาญในด้านคาถาอาคมอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อตอนที่ท่านได้ไปอยู่ปรนนิบัติรับใช้ ท่านครูบาชุ่ม โพธิโก ผู้มีศักดิ์เป็นลุงของท่านนั่นเอง ซึ่งครูบาชุ่ม โพธิโกจัดว่าเป็นพระเกจิอาจาย์ที่มีชื่อเสียงมากในภาคเหนือขณะนั้น หลวงพ่อต๋า ได้ศึกษาวิทยาคมและข้อวัตรปฎิบัติต่าง ๆ อยู่กับครูบาชุ่มเป็นระยะเวลาประมาณ 2-3 ปี ท่านได้ศึกษาจากตำรับตำราเวทมนต์ต่าง ๆ ของครูบาชุ่มและสิ่งไหนที่หลวงพ่อต๋า ไม่เข้าใจครูบาชุ่มท่านก็จะชี้แนะเพิ่มเติมให้ จนครูบาชุ่มเห็นว่าหลวงพ่อต๋าเชี่ยวชาญดีแล้ว กอรปกับทางคณะศรัทธาวัดอุโบสถบ้านเหล่าได้มานิมนต์ครูบาต๋าให้ไปช่วยพัฒนาวัดอุโบสถบ้านเหล่า ครูบาชุ่มจึงให้หลวงพ่อต๋า ไปช่วยพัฒนาวัดอุโบสถบ้านเหล่าต่อไป หลวงพ่อต๋าจึงได้มาพัฒนาวัดอุโบสถบ้านเหล่า ซึ่งในขณะนั้นกำลังทำการก่อสร้างศาลาบาตรขึ้นมา 1 หลัง หลังจากทำการก่อสร้างศาลาบาตรแล้วเสร็จ หลวงพ่อต๋าจึงปรึกษากับคณะศรัทธาวัดให้มีการก่อสร้างพระวิหารขึ้นอีก 1 หลัง ซึ่งในครั้งนั้นครูบาชุ่มก็ตั้งใจว่าจะมาช่วยครูบาต๋า สร้างพระวิหารด้วยแต่ต่อมาไม่นานท่านก็มรณภาพเสียก่อน หลวงพ่อต๋าพร้อมด้วยคณะศรัทธาวัดอุโบสถบ้านเหล่า จึงได้เดินทางไปร่วมพิธีศพของครูบาชุ่มด้วย ซึ่งในครั้งนั้นก็ได้มีลูกศิษย์ของครูบาชุ่ม จำนวนหนึ่งได้มาช่วยหลวงพ่อต๋า ก่อสร้างวิหารต่อ ประมาณเดือนมกราคม ปี พ.ศ.2522 หลวงพ่อต๋าจึงได้ปรึกษากับคณะศิษย์ว่าจะจัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นมารุ่นหนึ่ง เพื่อหาทุนมาทำการก่อสร้างวิหารต่อไปให้แล้วเสร็จ หลวงพ่อต๋าจึงได้ทำการออกแบบยันต์เพื่อจะนำมาลงไว้ที่ด้านหลังเหรียญ ซึ่งยันต์นี้เป็นยันต์ที่หลวงพ่อต๋า ได้ศึกษามากับท่านครูบาชุ่ม โดยจะเป็นยันต์อักษรล้านนาอ่านว่า  “อิต๊ะนา อรหัง ” ตามด้วยเลขล้านนา โดยหลวงพ่อต๋าได้จารยันต์ต่าง ๆ ใส่ให้ในแผ่นเงินและแผ่นทองแดงเพื่อให้นำเอาไปหลอมเป็นชนวนผสมในเหรียญรุ่นนี้ทั้งเนื้อเงินและเนื้อทองแดง เหรียญรุ่นแรกนี้ คำว่า อรหัง จะพิมพ์ตกอักษรสระ อัง  (   )ไป หนึ่งตัว ด้านบนพิมพ์เป็นตัวหนังสือภาษาไทยว่า “ที่ระลึกสร้างวิหาร” ด้านล่างพิมพ์ วัดอุโบสถบ้านเหล่า อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ เขียนปี พ.ศ.ที่สร้างเอาไว้ด้วย  (ปี ๒๕๒๒)  ส่วนด้านหน้าเหรียญเป็นรูปพ่อต๋า ครึ่งองค์  ด้านล่างเหรียญเขียนหลวงพ่อต๋า  ปัญญาวุฒโท ลักษณะเหรียญเป็นเหรียญวงรี จำนวนการสร้าง สร้างเป็นเนื้อเงิน 58 เหรียญ (แจกกรรมการ) และสร้างเป็นเหรียญเนื้อทองแดงอีก 5,000 เหรียญ หลังจากสร้างเสร็จหลวงพ่อต๋า ได้จัดพิธีพุทธาภิเษกขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2522 โดยได้เชิญครูบาอาจารย์ที่เป็นศิษย์ทางสายครูบาศรีวิชัยมาเป็นจำนวน 9 องค์ โดยเหรียญชุดนี้ได้ทำการปลุกเสกเป็นเวลา 1 วัน 1 คืน โดย ผลัดกันปลุกเสก 2 ชุด หลังจากนั้นหลวงพ่อต๋า ปลุกเสกเดี่ยวให้อีกทีหนึ่ง พระที่มาปลุกเสกในคราวนั้นเท่าที่ผู้เขียนจำได้ก็มีครูบาอินโต วัดบุญยืน, ครูบาอินตา  วัดห้วยไซร์ ครูบาอิน วัดฟ้าหรั่ง ฯลฯ ซึ่งล้วนเป็นพระที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น การปลุกเสกหลวงพ่อต๋าได้ทำการปลุกเสกแบบโบราณโดยเอาวัตถุมงคลวางทับไว้บนศาตราวุธต่าง ๆ เพื่อเป็นการข่มอาวุธด้วย หลังจากเสร็จพิธีแล้วหลวงพ่อต๋าก็ได้นำเอาวัตถุมงคลออกแจกแก่คณะกรรมการและลูกศิษย์ลูกหา

    1. พรรษา 55 พรรษา อายุ 77 ปี
      พรรษา 55 พรรษา อายุ 77 ปี
ยืนยันคำสั่ง?
คุณต้องการดำเนินการต่อไปหรือไม่?
Message